High-wireless.com

Latest Post






วิธีอัพเกรด Firmware Mikrotik จริงๆแล้วมีอยู่หลากหลายวิธีมากๆ วันนี้เราจะยกมาซัก 1 วิธี นะครับ


Upgrade Firmware Mikrotik                                                


เปิด Winbox ขึ้นมานะครับ ไปที่ Menu System >> Packages คลิ๊ก จะมีหน้า Package List ปรากฎขึ้นมา (ตามรูปด้านล่าง)

 

คลิ๊ก "Check For Updates" ตรง Channel แนะนำให้เลือก bugfig only หรือ current นะครับ แล้วกดคลิ๊ก Download & Install (ตามรูปด้านล่าง) 

Bugfix Only - เป็น Firmware ที่ Mikrotik มั่นใจว่าไม่มี Bug อยู่แล้ว
Current - เป็น Firmware ใหม่ล่าสุด อาจมี Feature ใหม่ๆ ที่ Bugfix Only ไม่มี แต่ต้องทำใจ บาง Feature อาจมี Bug
เลือกตามสะดวกเลยครับ




หลังจากทำขั้นตอนนี้เสร็จ Mikrotik จะ reboot ตัวมันเอง 1 ครั้ง จากนั้นให้กลับเข้าไปที่ Winbox ใหม่อีกครั้งแล้วไปที่

Menu System >> Routerboard แล้วกด Upgrade และ OK (ตามรูปด้านล่าง) 




เมื่อกด OK ไปแล้ว Mikrotik จะยังไม่ทำการ Upgrade นะครับ ต้องไป Reboot Mikrotik อีก 1 ครั้งก่อน ถึงจะ Upgrade ให้ครับ (ตามรูปด้านล่าง)






เท่านี้ก็ เสร็จสิ้นการ Upgrade Firmware ของ Mikrotik แล้วครับ



3 วิธี ป้องกัน Mikrotik ก่อนออก 

INTERNET เบื้องต้น



ด้วยปกติแล้วค่าเริ่มต้น (Default) ของ Mikrotik จะมี Username : admin และ Password : ว่างเปล่า หรือไม่ต้องใส่ จึงอันตรายมากๆ สำหรับการโดนเจาะระบบเข้า Router ได้ง่ายๆ ผลข้างเคียงก็คือ อาจมี Script แปลกๆเข้ามาในระบบ บางก็ไม่สามารถปิด Services Ports บ้างตัวได้ และอื่นๆ ทำให้ CPU วิ่งสูง เครื่องเกิดอาการ Reboot ตัวเองเป็นพักๆ บางเคสก็ ครึ่งชั่วโมงครั้ง บางเคสก็ 5 นาทีครั้ง แนะนำให้ Config เบื้องต้นแบบนี้ทุกครั้งก่อนที่จะออก Internet ให้กับ Mikrotik

1.เปลี่ยน Username Password


1. เลือก Menu System > Users > Add (  ) จากนั้นจะมีหน้า New Users ขึ้นมา (ตามรูปด้านล้าง)
                                                                                                           


2. หน้าต่าง New User
2.1 Name จะหมายถึง Username ให้ใส่ ชื่อที่เราจะตั้งใหม่
2.2 Group ให้เราเลือก Full
2.3 Password และ Confirm Password ให้ใส่ รหัสที่จะตั้ง 
2.4 กดปุ่ม Apply
2.5 กดปุ่ม OK

(ตามรูปด้านล้าง)








3. ให้ปิดชื่อที่เป็น Default ของทาง Mikrotik.  (Username Pass เริ่มต้น)
เลือกคำว่า “Admin” ที่มี Comment ว่า “:::system default user”  แล้วกดปุ่ม Disable () เท่านี้ก็เป็นการเสร็จขั้นตอนแรก การเปลี่ยน Username Password ของ Mikrotik เรียบร้อยแล้วครับ (ตามรูปด้านล้าง)











2 ปิด Services Ports ที่ไม่จำเป็น


Services ports กล่าวง่ายๆ คือ ช่องทางที่จะเข้ามาหรือติดต่อ กับ Router Mikrotik ของเรา สำหรับ Mikrotik จะมีหลากหลายวิธีมากที่จะเข้ามาใช้งาน เช่น Winbox, www (Webfig), ssh, telnet เป็นต้น อะไรที่ไม่จำเป็นแนะนำให้ผิด  แนะนำให้ปิดทั้งหมดยกเว้น Winbox และ www (Webfig นั้นเอง)

1.  ไปที่ Menu IP > Services จะมีหน้าต่าง IP Service List ขึ้นมาก (ตามรูปด้านล้าง)







2. แนะนำให้เลือก Services ที่ไม่จำเป็นแล้วกดปุ่ม Disable () ในที่นี้แนะนำให้ปิดทั้งหมด ยกเว้น Winbox, www
(ตามรูปด้านล้าง)


เท่านี้ก็เสร็จวิธีที่ 2 แล้ว




3 เปลี่ยนชื่อ Device Name


โดยปกติ Mikrotik ทุกตัวที่เป็น ค่า Default จะมีชื่อ Device name เหมือนกันหมดทุกตัว คือ Mikrotik จริงๆแล้วก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนก็ได้ แต่ถ้าในระบบ Network ของคุณมี Mikrotik มากกว่า 1 ตัวละ มันก็จะรำบากในการจำ แนะนำให้เปลี่ยนจะดีที่สุดครับ

1. ไปที่ Menu System > Identity จะมีหน้าต่าง Identity ขึ้นมา ให้เปลี่ยนชื่อที่ต้องการ แล้วกด Apply จากนั้นกด OK (ตามรูปด้านล้าง)



เสร็จขั้นตอนทั้งหมดแล้ว สำหรับคู่มือนี้เป็นการป้องกันเบื้องต้น ก่อนออก Internet ให้ Mikrotik












วิธีออก INTERNET แบบ DHCP # Mikrotik







การออก INTETNET แบบ DHCP ก็คือการ รับ INTERNET จาก Router ของผู้ให้บริการ เช่น 3BB, ToT, True หรืออื่นๆ แล้วให้เจ้า Mikrotik ทำตัวเอง เป็น DHCP Server ไปแจก IP Addess ให้ อุปกรณ์ลูกค่ายอีกที (ตามรูปด้านบน)



1. รับ DHCP จาก Router                                                               


ก่อนอื่น ทุกครั้งที่ซื้อ Router ของ Mikrotik มาใหม่ ครั้งแรกที่เปิด Winbox ขึ้นมา จะมี หน้าต่าง "RouterOS Default Configuration" เด้งขึ้นมา คำแนะนำให้ กด " Remove Configuration " นะครับ เป็นการเคลียร์ค่า Default ทั้งหมดออกไปก่อน แล้วค่อยเริ่มตั้งค่าครับ (ตามรูปด้านล่าง)





ไปที่เมนู IP > DHCP Client กด คลิ๊ก จะมีหน้าต่าง "DHCP Client" ขึ้นมา กดปุ๋ม Add ((ตามรูปด้านล่าง)





จากนั้น จะมี หน้า "New DHCP Client" ขึ้นมา

1. Interface หมายถึง Interface ที่คุณต้องการกำหนดให้รับ DHCP จาก Router หรือขา WAN ที่คุณต้องการใช้ ใครอยากใช้ Port ไหนของ Mikrotik ก็เลือกได้ตามใจชอบ  "ในที่นี้ผมใช้ ether1 เป็นขา WAN"
เสร็จแล้ว ติ๊ก "Use Peer DNS" และ "Use Peer NTP" ด้วยครับ
จากนั้น กด Apply แล้ว OK (ตามรูปด้านล่าง)




เราจะเห็นหน้าต่าง DHCP Client มี ethernet ที่เราเลือก แล้ว Status ขึ้นว่า "bound" เป็นอันเสร็จเรียบร้อย (ตามรูปด้านล่าง)





2. สร้าง IP Addresses ที่เราต้องการ                                                   


ไปที่เมนู IP > Addresses คลิ๊ก แล้ว จะมีหน้า Addressed List ขึ้นมาให้กดปุ่ม Add () (ตามรูปด้านล่าง)




จากนั้นจะมีหน้าต่าง New Address ขึ้นมา
Address : ให้ทำการใส่ IP Address ที่เราต้องการ (ในที่นี้ผมใส่ วง IP 192.168.55.1/24)
Interface : ให้เลือก ether อะไรก็ตามแต่ที่ คุณต้องการให้แจก IP (Port ไหนก็ได้) ในที่นี้ผมเลือก ether5 (Port 5)
เสร็จแล้ว กด Apply และ OK (ตามรูปด้านล่าง) ในหน้าต่าง Address List จะมี วง Network ที่เรากำหนดขึ้นมา

 


3. สร้าง DHCP Server                                                                 

ไปที่เมนู IP > DHCP Server > DHCP > DHCP Setup (ตามรูปด้านล่าง)



หลังจากนั้นจะมี หน้าต่าง DHCP Setup ขึ้นมา 
DHCP Server Interface ให้เลือกค่า LAN ที่เราจะตั้ง DHCP Server ที่เรากำหนด วง Network ใน Menu Address (ในที่นี้ผมใช้ ether5) แล้วกด Next (ตามรูปด้านล่าง)


กด Next

กด Next

กด Next

กด Next

Lease Time : หมายถึง ครบกำหนดระยะเวลาที่เราตั้งไว้ จะบังคับให้ออกจากระบบ แล้วแต่ผู้ใช้ว่าอยากจะกำหนดเท่าไหร่ (แนะนำให้เป็น 1วัน ถ้ายังไ่ม่รู้ว่าจะตั้งอะไร) 

กด OK



4. กำหนด DNS                                                                          


ไปที่ เมนู IP > DNS กดคลิ๊ก ขึ้นมาจะมีหน้าต่าง DNS Settings ขึ้นมา กด ติ๊ก Enable คำว่า "Allow Remote Requests" หลังจากนั้น กด Apply และ OK (ตามรูปด้านล่าง)





5. FireWall (NAT)                                                                       


ไปที่ เมนู IP > Firewall > NAT > กดปุ่ม Add ()  (ตามรูปด้านล่าง)






จะมีหน้าต่าง New Nat Rule ขึ้นมา ให้เลือก
1.เลือก General > Chain เป็น srcnat > Out. Interface เป็น ether1 (กรณีนี้ให้เลือกตามที่เรากำหนด ค่าWAN ที่เรารับ DHCP จาก Router ที่เราเลือกตั้งแต่แรก)
2. Action > Action > เลือกเป็น masquerade หลังจากนั้น กด Apply และ OK (ตามรูปด้านล่าง)










หลังจากนั้นลองทำการ ทดสอบ เปิด CMD ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ของเราแล้วลอง Ping หา google ก็ได้ครับ ว่าออก INTERNET ได้มั้ย




เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อยครับ

ขอบคุณครับ










การทำ PPPoE ด้วย Mikrotik จะทำให้ Mikrotik เป็นตัวทำงานได้เต็มที่ โดยไม่ต้องรับ DHCP มาจาก Router อีกที การจะทำ PPPoE ต้องทำ Bridge Mode ให้กับ Router ของผู้ให้บริการ ก่อนนะครับ ไม่ว่าจะเป็น 3BB, True, ToT หรืออื่นๆ หลังจากนั้น เราจะได้ Username และ Password มาจากผู้ให้บริการอีกที 

ถ้าได้ Username & Password มาแล้ว ก็เซตค่าตาม ด้านล่างได้เลยครับ 


[accordion] [item title="1. ใส่ Username Password"]

ไปที่เมนู PPP > Interface > กด Add () >เลือก PPPoE Client (ตามรูปด้านล่าง)



จากนั้นจะมีหน้าต่าง New Interface ขึ้นมา ให้ไปที่ Tab General >เลือก Interfaces ที่จะให้เป็นขา WAN (ในที่นี้ผมเลือกเป็น ether1 ) ส่วนคำว่า "Name" จะตั้งชื่ออะไรก็ได้แล้วแต่เรานะครับ (ตามรูปด้านล่าง) 



หลังจากนั้นไปที่ แทบ Dial Out
1.  User : ให้ใส่ Username ที่ได้จากผู้ให้บริการ
2. Password : ให้ใส่ Password ที่ได้จากผู้ให้บริการ
3. ติ๊ก Enable Use Peer DNS และ Add Default Route
4. กด Apply และ OK (หลังจากกด Apply ให้สังเกตุ Status ด้านซ้ายล่าง ถ้าขึ้นว่า Connected ก็ถือว่าเป็นอันเรียบร้อยครับ)
(ตามรูปด้านล่าง)

 



[/item]
 [item title="2. สร้าง Address หรือ วง Network"]
ไปที่เมนู IP > Addresses คลิ๊ก แล้ว จะปรากฎหน้า Addressed List ขึ้นมาให้กดปุ่ม Add ((ตามรูปด้านล่าง)



จากนั้นจะมีหน้าต่าง New Address ขึ้นมา
Address : ให้ทำการใส่ IP Address ที่เราต้องการ (ในที่นี้ผมใส่ วง IP 192.168.55.1/24)
Interface : ให้เลือก ether อะไรก็ตามแต่ที่ คุณต้องการให้แจก IP (Port ไหนก็ได้) ในที่นี้ผมเลือก ether5 (Port 5)
เสร็จแล้ว กด Apply และ OK (ตามรูปด้านล่าง) ในหน้าต่าง Address List จะมี วง Network ที่เรากำหนดขึ้นมา


 




[/item]

 [item title="3. สร้าง DHCP Server"]

ไปที่เมนู IP > DHCP Server > DHCP > DHCP Setup (ตามรูปด้านล่าง)



หลังจากนั้นจะมี หน้าต่าง DHCP Setup ขึ้นมา 
DHCP Server Interface ให้เลือกค่า LAN ที่เราจะตั้ง DHCP Server ที่เรากำหนด วง Network ใน Menu Address (ในที่นี้ผมใช้ ether5) แล้วกด Next (ตามรูปด้านล่าง)



กด Next


กด Next


กด Next


กด Next


Lease Time : หมายถึง ครบกำหนดระยะเวลาที่เราตั้งไว้ จะบังคับให้ Client ออกจากระบบ แล้วแต่ผู้ใช้ว่าอยากจะกำหนดเท่าไหร่ (แนะนำให้เป็น 1วัน ถ้ายังไ่ม่รู้ว่าจะตั้งอะไร)


กด OK


เสร็จสิ้นการทำ DHCP Server

[/item]
 [item title="4. DNS"]

ไปที่ เมนู IP > DNS กดคลิ๊ก ขึ้นมาจะมีหน้าต่าง DNS Settings ขึ้นมา กด ติ๊ก Enable คำว่า "Allow Remote Requests" หลังจากนั้น กด Apply และ OK (ตามรูปด้านล่าง)




[/item]
 [item title="5. ทำ NAT ให้ Mikrotik"]

ไปที่ เมนู IP > Firewall > NAT > กดปุ่ม Add ()  (ตามรูปด้านล่าง)



จะมีหน้าต่าง New Nat Rule ขึ้นมา ให้เลือก
1.เลือก General > Chain เป็น srcnat > Out. Interface เป็น pppoe-out1 (กรณีนี้ให้เลือกตามที่เรากำหนด ขา WAN
2. Action > Action > เลือกเป็น masquerade หลังจากนั้น กด Apply และ OK (ตามรูปด้านล่าง)





เสร็จสิ้นการทำ NAT ให้ Mikrotik  ตอนนี้ก็จะสามารถออก Internet ได้แล้วนะครับ
ลองทดสอบด้วยการ Ping หา Google ดูครับ



เรียบร้อยครับ เสร็จสิ้น วิธีการตั้งค่า Mikrotik ให้ออก INTERNET แบบ PPPoE

[/item] [/accordion]

ivythemes

{facebook#https://facebook.com/highwireless} {twitter#https://twitter.com/highwireless} {google-plus#https://plus.google.com/+Highwirelessgmail} {youtube#https://www.youtube.com/channel/UCW9TY6ldOXZlAbYpuaKHi4g} {instagram#https://www.instagram.com/highwireless/}

MKRdezign

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

ขับเคลื่อนโดย Blogger.
Javascript DisablePlease Enable Javascript To See All Widget